วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระบบ BUS ของแรมคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย

ระบบ BUS

เราเริ่มมองที่ความหมายของคำว่า BUS ก่อน สำหรับความหมายของคำว่า BUS ในภาษาอังกฤษก็คือ รถเมล์ หรือ รถบัส นั่นเองแล้ววัตถุประสงค์ในการใช้ BUS ละ แน่นอน ย่อมหมายถึงการใช้สำหรับการขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจำนวนมากๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " คน " ปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน.แล้ว BUS มาเกี่ยวข้องกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ได้อย่างไร.?ความหมายนี้ เป็นอย่างเดียวกัน คือใช้สำหรับขนส่งสิ่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง ไปยัง อีกจุดหนึ่ง โดยนัยแล้ว สิ่งที่ขนส่งก็คือ " สัญญานไฟฟ้า " หรือ เรียกง่ายๆ ว่า " ข้อมูล " นั่นเอง.แล้ว BUS ในระบบคอมพิวเตอร์ หน้าตามันเป็นอย่างไร ?ก็เมื่อ BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น BUS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราๆ ก็คือ เส้นโลหะตัวนำสัญญานไฟฟ้ามักเป็น " ทองแดง " ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Mainboard เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นลายเส้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เป็นแถบๆ หลายๆ เส้น บ้าง หรือ เป็นเส้นเดี่ยวๆ บ้าง และ BUS มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า " ระบบบัส " หรือ " BUS SYSTEM "แล้ว BUS แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ1. ADDRESS BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ ในระบบคอมพิวเตอร์2. CONTROL BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์3. DATA BUS คือ ระบบบัสที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control busหมายเหตุ : แล้ว FSB : Front Side Bus คืออะไร ? คำว่า Front Side Bus หรือ FSB เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับการกำหนดความเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น CPU จะทำงานโดยอาศัยหน่วยความจำ ( RAM ) เป็นเสมือนหนึ่ง " โต๊ะทำงาน " และ " ถังพักข้อมูล " ในการทำงาน เมื่อ CPU มีความเร็วในการทำงานที่สูง เมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงกับ หน่วยความจำที่เป็น RAM จึงแทบไม่ต้องอยู่ในสถานะที่รอคอย ( Wait State ) ข้อมูลในการทำงานมากเหมือนการติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นจึงมีการออกแบบและกำหนดสถาปัตยกรรมของการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ( RAM ) เพื่อความรวดเร็วในการทำงานระหว่าง CPU กับ RAM โดยตรงให้มีความเร็วที่สูงที่สุดเท่าที่ หน่วยความจำนั้นๆ จะตอบสนองการทำงานได้ จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266 , FSB333 , FSB400 , FSB533 , FSB667 , FSB800 , FSB1066 เป็นต้น โดยการเลือกความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้ และ Mainboard ที่ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล และ คุณจะสังเกตุเห็นได้ว่า Socket สำหรับติดตั้ง หน่วยความจำ ( RAM ) บนเมนบอร์ดนั้นจะอยู่ใกล้กับ CPU มาก และ จาก CPU จะมีช่องทางการต่อเชื่อมถึงหน่วยความจำ ( RAM ) โดยผ่านเส้นลวดตัวนำสัญญานที่สั้นมากนั่นเองแล้ว BUS ทำงานอย่างไร ?เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สำหรับควบคุมการทำงานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทำหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้นอีกนัยหนึ่งของ BUS มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น " ถนนสายหลัก " ที่ใช้สำหรับ " เดินทาง " หรือ " ขนส่งข้อมูล " และ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ BUS Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง " บ้าน " ที่อยู่ใน " ถนนย่อย " ที่แยกออกจากถนนหลัก โดยที่ " ถนนย่อย " ที่แยกแต่ละถนนนั้น จะมี " เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ บ้าน " เพียงหลังเดียวอยู่ที่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น นั่นเอง โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้น จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ " แยกสัญญาน " หรือ " พ่วงสัญญาน " ที่เรียกว่า MAC ( Media Access Connector ) เป็นตัวเชื่อมต่อและแยกสัญญานให้


http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=119.0

เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAMกับ DDR-RAM

ความแตกต่างระหว่าง SDRAM กับ DDR

• ขนาดหีบห่อหรือ Package โดย SDRAM มีขนาดหีบห่อที่ 0.8 ม.ม และมีจำนวนขาของแรมชิป ที่ 54 ขา ขณะที่ DDR SDRAM มีขนาด 0.65 ม.ม และมีหีบห่อที่เรียกว่า TSOP ทั้งคู่
• แรงดันไฟเลี้ยง สำหรับ SDRAM กินไฟ 3.3V ส่วน DDR SDARM กินไฟ 2.5V และที่สำคัญ จะอัตราการแกว่งไกวของแรงดันไฟ ที่น้อยมาก
• ลักษณะของ Interface SDRAM ใช้ระบบอินเตอร์เฟสที่เรียกว่า LVTTL ซึ่งมีการใช้สัญญาณประเภท TTL ที่กินแรงดันไฟต่ำ ส่วน DDR SDRAM ใช้ อินเตอร์เฟส แบบ SSTL_2 หรือที่เรียกว่า Stub Series-Terminated Logic เป็นมาตรฐานการ อินเตอร์เฟสสำหรับ หน่วยความจำความเร็วสูง โดยมีคุณลักษณะพิเศษการทำงานแบบ สวิตซ์ชิ่ง ซึ่งจะทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานที่ความเร็ว 200 MHz ขึ้นไปเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ซึ่ง DDR SDRAM สามารถทำงานที่ความเร็ว 300 MHz เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบ LVTTL แล้ว DDR SDRAM มีการ เทอร์มิเนต ที่ปลายของเส้นสัญญาณ ทำให้ลดสัญญาณรบกวนได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นหากทำงานที่ความเร็วสูง
• ขาสัญญาณที่เพิ่มขึ้น DDR SDRAM มีสัญญาณที่เพิ่มขึ้นหลายสัญญาณเมื่อเทียบกับ SDRAM ได้แก่ /CLK DQS VREF DM เป็นต้น
• /CLK เป็น สัญญาณที่เรียกว่า Differential Clock Input DDR SDRAM สามารถทำงานประสานกับสัญญาณนาฬิกา 2 สัญญาณ ได้แก่ /CLK และ CLK ซึ่งทำให้การรับสัญญาณนาฬิกาจากภายนอกที่เร็วกว่า และมีสัญญาณรบกวนน้อยมา อีกทั้งมีความแม่นยำสูง ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการอินเตอร์เฟสระหว่างระบบที่ควบคุม DDR SDRAM กับ ตัว DDR SDRAM เอง
• DQS หรือ Bi-directional Data Strobe ถูกนำมาใช้เป็น สัญญาณ Data Latch เพื่อควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร โดย DQS จะถูกปล่อยออกมาจากหน่วยความจำขณะที่มีการอ่านข้อมูล และเป็นสัญญาณอินพุท เข้ามาที่ หน่วยความจำขณะที่ทำการเขียนข้อมูล การใช้ DQS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านของจังหวะการทำงานที่ดีขึ้น
• VREF เป็นแรงดันไฟอ้างอิง ที่มีขนาด 1.25 V โดยมีค่า +/- อยู่ที่ 0.10V
• CAS Latency สำหรับ SDRAM มี CAS Latency อยู่ที่ 2 หรือ 3 Time Cycle ขณะที่ DDR SDRAM มี CAS Latency อยู่ที่ 2 หรือ 2.5 และ 3 Time Cycle ( CAS Latency เป็นค่าหน่วงเวลาที่มีความหมายว่า หลังจากที่สัญญาณ CAS มาถึงตัว DRAM แล้ว อีกนานเท่าใด ข้อมูลจาก DRAM จึงจะถูกปลดปล่อยออกมา ซึ่งแน่นอน ค่า Latency ยิ่งน้อยลงเท่าใด DRAM ก็ยิ่งจะปล่อยข้อมูลออกมาได้เร็วเท่านั้น ส่วน Time Cycle หมายถึง จำนวนรอบการทำงานของสัญญาณ ในระบบ (System Clock) สำหรับเครื่องพีซี สามารถนำไปเทียบกับรอบการทำงานของโปรเซสเซอร์ก็ได้ - ผู้เขียน)
• Write Latency SDRAM มีค่าหน่วงเวลาในการเขียนข้อมูลลงไปที่ DRAM ที่ 0 (ไม่มี Delay)ส่วน DDR SDRAM มีค่าหน่วงเวลาที่ 1 Time Cycle* ทั้ง SDRAM และ DDR SDRAM มีระบบ Auto Precharge โดยอัตโนมัติในตัว (Precharge เป็นกระบวนการเคลียร์ล้างข้อมูลในส่วนที่จะทำการ Refresh ของ DRAM (หลังจากที่ Back Up ข้อมูลแล้ว) ก่อนที่จะเติมข้อมูลลงไปที่ DRAM ใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนขบวนการ Refresh ของ DRAM
• ทั้ง SDRAM และ DDR SDRAM มีการทำ Precharge ได้พร้อมกันทุกๆ Bank
• SDRAM และ DDR SDRAM มีระบบที่เรียกว่า Self Refresh ในตัวเอง ซึ่งหมายความว่า ภายในตัว DRAM ทั้งสองแบบ จะมีวงจรควบคุมการทำงานของ Refresh อยู่ในตัว ไม่ต้องการวงจรควบคุม การ Refresh ภายนอก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ Mother Board
• DDR SDRAM สามารถทำงานที่ความเร็วตั้งแต่ 66 MHz ไปจนถึง 133 MHz หรือมากกว่า
• มีอัตราการปลดปล่อยข้อมูลแบบ Burst ที่มีขนาดความยาว 2 หรือ 4 และ 8 (Burst เป็นการปลดปล่อยข้อมูลออกมาเป็นกลุ่มก้อน ที่มีขนาดอย่างน้อย 128-256 บิตขึ้นไป ต่อ 1 ครั้ง ดังนั้น ค่า 2 หรือ 4 หมายถึง การปลดปล่อยข้อมูลขนาด 256 บิต จำนวน 2 หรือ 4 ครั้งต่อหนึ่งรอบการทำงาน)
• อัตราความเร็วในการถ่ายเทข้อมูล ของ SDRAM อยู่ที่ 133 - 2.1 GB



http://www.vcharkarn.com/vblog/40889/2

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)

หน่วยประมวลผลกลาง


หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิคที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s
หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
ตีความชุดคำสั่ง (decode)
ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณ ไว้ในระบบเรจิสเตอร์
เนื้อหา[ซ่อน]
1 การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
1.1 การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)
1.2 การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)
2 สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลางที่เป็นที่รู้จัก
2.1 คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว
2.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.3 คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์คสเตชัน
2.4 มินิคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม
3 ดูเพิ่ม
4 แหล่งข้อมูลอื่นๆ
//
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบพื้นฐาน
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม
Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่
การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline
โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อยๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเอง

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline และเป็น superscalar
การทำงานแบบขนานนี้สามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงานแต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลายๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน
การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)
การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism)
สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลางที่เป็นที่รู้จัก
คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว
สถาปัตยกรรม PowerPC 440 ของไอบีเอ็ม
สถาปัตยกรรม 8051 ของอินเทล
สถาปัตยกรรม 6800 ของโมโตโรลา
ใช้ในหน่วยควบคุม 68HC11 ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก
สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers)
ใช้ใน เครื่องเล่นเพลง ไอพ็อด, เครื่องเล่นเกม เกมบอยแอดวานซ์, และ พีดีเอ จำนวนมาก 0
หน่วยประมวลผล XScale และ StrongARM ของอินเทลนั้น ใช้สถาปัตยกรรม ARM
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
สถาปัตยกรรม x86 ของอินเทล
สถาปัตยกรรม 6800, 6809, และ 68000 ของโมโตโรลา
สถาปัตยกรรม 6502 ของ MOS Technology
สถาปัตยกรรม Z80 ของ Zilog
สถาปัตยกรรม PowerPC ของไอบีเอ็ม (ในภายหลังคือพันธมิตร AIM alliance)
สถาปัตยกรรม AMD64 (หรือ x86-64) ของเอเอ็มดี
เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมแบบ x86 ของอินเทล
คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์คสเตชัน
สถาปัตยกรรม SPARC ของ SPARC International, Inc. (มีสมาชิกเช่น ซัน ไมโครซิสเต็มส์, ฟูจิตสึ, โตชิบา, เท็กซัสอินสทรูเมนส์)
หน่วยประมวลผล LEON2 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลแบบเปิดเผยรหัส ใช้สถาปัตยกรรม SPARC
สถาปัตยกรรม POWER ของไอบีเอ็ม
สถาปัตยกรรม MIPS ของ MIPS Computer Systems Inc. ชุดของคำสั่งเครื่องของ MIPS เป็นเครื่องมือหลักในการสอนสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในหนังสือ Computer Organization and Design เขียนโดย เดวิด เอ. แพตเทอร์สัน และ จอห์น แอล. เฮนเนสซี ISBN 1-55860-428-6 1998 (2nd. edition)
สถาปัตยกรรม PA-RISC ของเอชพี
สถาปัตยกรรม Alpha ของ DEC
สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers)
มินิคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม
สถาปัตยกรรม System/360 ของไอบีเอ็ม
สถาปัตยกรรม PDP-11 ของ DEC, และสถาปัตยกรรม VAX ที่ถูกพัฒนาต่อมา
สถาปัตยกรรม SuperH ของฮิตาชิ
สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์รุ่น UNIVAC 1100/2200 (ปัจจุบันสนับสนุนโดย Unisys ClearPath IX computers)
1750A - คอมพิวเตอร์มาตรฐานของกองทัพสหรัฐ
AP-101 - คอมพิวเตอร์ของกระสวยอวกาศ

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง

วิธีการตรวจสอบเมนบอร์ดเสีย
เขียนโดย Manop ByNature
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2009 เวลา 15:22 น.
Article Index
POST CODE การใช้งานนั้นให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน จากนั้นเสียบการ์ดตรวจสอบเมนบอร์ดลงช่อง PCI ที่ว่าง โดยต้องแน่ใจว่าแน่นหรือยังจากนั้นจึงเปิดเครื่องแล้วสังเกตุค่าที่แสดงบน 7-segment 2 หลัก จะเป็นรหัสที่ไบออสส่งออกมาโดยถ้าฮาร์ดแวร์ ทำงานถูกต้อง ตัวเลขที่เสดงและมีการหยุดที่ค่าค่าหนึ่ง เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มบู๊ตเครื่อง อย่างเช่น 00 ของ AMI BIOS และ FF ของ AWARD BIOS แต่ถ้ามีส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ ทำงานผิดพลาด ตัวเลขที่แสดงบน 7-segment จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง(ติดค้างที่ตัวเลขค่าใดค่าหนึ่ง) ซึ่งผู้ใชงานสามารถนำรหัสไปเปรียบเทียบเพื่อหาความหมายตามยี่ห้อหรือเวอร์ชันต่อไป ลักษณะ Debug Card ที่ใช้สำหรับตรวจสอบเมนบอร์ดเสียไบออสนั้นจะแสดงข้อผิดพลาดออกมาทาง 7-segment หรือหน้าจอดิจิตอลเพียง 2 หลักเท่านั้นก็สามารถวิเคราะห์ส่วนที่บกพร่องได้แล้ว ในท้องตลาดยังมีที่เป็นชนิด 4 หลักซึ่งราคาจะสูงกว่า 2 หลัก ในทางปฏิบัติแล้วเลข 4 หลักนั้นไม่มีความจำเป็นเพราะ2 หลักเราก็จะสามารถวิเคราะห์ได้แล้วครับเพื่อความแม่นยำรายละเอียดของความหมาย Code ท่านสมารถดูได้ที่ www.bioscentral.com ตัวอย่าง Code ที่แสดงออกมาและความหมายของ Code อาการที่เห็นทั่วๆ ไปของ บอร์ดที่ซ่อมประจำ

http://www.bynatureonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=215:-debug-card-&catid=39:how-to&Itemid=78

หลักการซื้อเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง

หลักการเลือกซื้อ เมนบอร์ด

จากช้อมูลของ CPU ก็จะเห็นว่า เมนบอร์ด สามารถเบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้คือ Socket 7 , Slot 1, Socket 370, Slot A และ Socket A นะครับ ก่อนอื่น หากท่านคิดจะเลือก CPU ตัวใหม่หรือจะทำการ Upgrade CPU ตัวเก่า ก็ลองมองดูก่อนนะครับว่า เมนบอร์ดอันเก่าของคุณนั้นเป็นแบบไหน จากนั้นก็หาข้อมูลว่าเมนบอร์ดนั้น ๆ สามารถรองรับ CPU ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไร ลองพิจารณาดูข้อมูลของเมนบอร์ดแบบต่าง ๆ และความเร็วสูงสุดของ CPU ที่มีออกวางจำหน่ายด้วยนะครับ เพราะว่าบางครั้ง คุณอาจจะเพียงแค่เปลี่ยน CPU อย่างเดียวโดยยังใช้เมนบอร์ดเดิมก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินไปได้มากครับ หากเป็นการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ใหม่เลย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น เมนบอร์ดแบบ Socket 7 ในปัจจุบันนี้ ก็จะมี CPU ที่มีความเร็วสูงสุดเพียงแค่ K6II-550 MHz เท่านั้น ซึ่งหากคิดว่าจะไม่ทำการ Upgrade เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกตัวนี้ได้ (เพราะว่าราคาจะถูกกว่า) แต่สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 หรือ Slot A ปัจจุบันนี้ ยังมี CPU รุ่นใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความเร็วสูงสุดอาจจะขึ้นไปถึง 1GHz ก็ได้ คงต้องรอดูกันต่อไป
ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก
ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้
ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย
นอกจากนี้ สำหรับท่านที่มีงบน้อย ๆ เมนบอร์ดแบบ All in One เป็นเมนบอร์ดอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกได้ว่ามีราคาประหยัดมากเลย ลักษณะของเมนบอร์ดชนิดนี้คือจะมีการนำเอา VGA Card, Sound Card, Modem, LAN Card หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารวมไว้บนเมนบอร์ดของคุณ ข้อดีของเมนบอร์ดขนิดนี้คือ ราคาถูก ได้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นครบ โดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของเมนบอร์ดแบบนี้คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่บนเมนบอร์ดนี้ จะทำให้ CPU ต้องแบ่งการทำงาน มาให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องโดยรวมช้ากว่าการใช้เมนบอร์ดแบบแยกส่วนมาก นอกจากนี้ เมนบอร์ดแบบนี้จะไม่ค่อยมี Slot ของการ์ดต่าง ๆ มาให้ขยายเพิ่มเติมมากนัก ส่วนใหญ่จะมีแค่เพียง Slot เดียว ซึ่งทำให้ยากต่อการขยับขยายในอนาคต หรือถ้าหากอุปกรณ์บางอย่างเกิดเสียขึ้นมา ก็อาจจจะไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ (ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ อาจจะเปลี่ยนได้โดยการ Disable อุปกรณ์ที่มีอยู่บนเมนบอร์ดนั้น แล้วซื้อการ์ดใหม่มาเสียบแทน แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาตามมาครับ เช่นถ้ายกเลิก Sound Card ก็จะต้อง Disable Modem ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย ต้องดูข้อมูลให้ดีนะครับ) สรุปว่า เมนบอร์ดแบบนี้เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา พิมพ์เอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ต ที่ไม่หนักมากนัก และไม่เน้นการเล่นเกมส์หรือการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บ่อย ๆ นัก เพราะว่าข้อดีของเมนบอร์ดแบบนี้คือ ราคาที่ถูกแสนถูก



http://www.chiangdaotech.com/shop/content/view/82/

เมนบอร์ดคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมนบอร์ดคือ

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด

ความสำคัญของmainboard
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คือรวมเอาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม กราฟิกการ์ด การ์ดอุปกรณ์เสริมต่างๆ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าชิปเซต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถืวว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะตัวชิปเซตนี้เองที่ทำหน้าที่กำหนดสถาปัตยกรรมโดยรวมของระบบ ไม่ว่าจะเป็นซีพียูที่รองรับ หน่วยความจำที่สามารถทำงานร่วมได้ ลูกเล่นต่างๆ ระบบบัสต่างๆ ที่รองรับ ประเภทของกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมด้วย ความสามารถในการต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูล ทั้งหมดเป็นหน้าที่ของชิปเซ็ตซึ่งจะว่าไปแล้วก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกับเมนบอร์ดนั่นเอง หลายๆ คนที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากการเลือกเมนบอร์ดก่อน ซึ่งนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะเมนบอร์ดไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบ แม้ว่าจะมีผลอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก มันทำหน้าที่เป็นเพียงตัวประสานงานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ดังนั้นต่อให้เปลี่ยนเมนบอร์ดไปเป็น 10 ตัว แต่ยังคงใช้งานอุปกรณ์ชุดเดิม คุณก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก ดังนั้นการเลือกที่ถูกต้องจึงควรจะเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นหรือต้องการจะใช้เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม หรือกราฟิกการ์ดจากนั้นจึงมามองหาเมนบอร์ดที่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่คุณวางสเปคไว้ถึงจะเหมาะสม

http://members.fortunecity.com/sompos/page1.html

http://blogger.sanook.com/nongpom/2008/11/12/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87mainboard/

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การทำงานของเมนบอร์ดมีการทำงานอย่างไร

[ Mainboard ]
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย 1. ชุดชิพเซ็ต
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
3. หน่วยความจำแคชระดับสองสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ
สิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น คุณจะต้อง พิจารณาในส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิเช่น ความคอมแพตทิเบิลของเมนบอร์ดกับซีพียู, ซิพเซต, ไบออส,I/O chips, พอร์ตต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบหรือโครงสร้างของเมนบอร์ดด้วย ฯลฯ นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ ยี่ห้อและรุ่นของเมนบอร์ดที่จะนำมาใช้กับการทำงานที่ต้องการและประสิทธิภาพในการทำงาน ที่ได้รับ
เมนบอร์ดในปัจจุบัน
เริ่มจากอดีตจนถึงปัจจุบันหน้าตาของเมนบอร์ดและประสิทธิภาพในการทำงานของเมนบอร์ด มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธภาพในการทำงานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เมนบอร์ด ที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็คงจะหนีไม่พ้นเมนบอร์ดเพนเทียมที่แซงหน้าเมนบอร์ดรุ่น 486 ที่กำลัง จะกลายเป็นเมนบอร์ดที่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของเมนบอร์ด เพนเทียม อีกทั้งแนวโน้มที่กำลังมาแรงของเมนบอร์ดเพนเทียมโปรที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกมามาก ขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ความสนใจและจับตามองความเคลื่อนไหวอย่าง ต่อเนื่อง
เมนบอร์ดที่มีคุณลักษณะที่เรียกว่า ATX Form Factor นั่นก็คือการจัดองค์ประกอบหรือวงจร ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้มีความกระชับ และเสันทางเดินวงจรใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยัง built-in พวกพอร์ตต่าง ๆ ไว้ เช่น Com1, Com2, PS/2 Keyboard, Mouse และ Parallelไว้บน เมนบอร์ดอีกด้วย คุณลักษณะสำคัญ ในการเลือกซื้อคุณลักษณะ ATX
เมนบอร์ดในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้มีความกระชับและมีความสามารถ เพิ่มขึ้น ซึ่งเมนบอร์ด ATX นั่นก็คือ เมนบอร์ดที่ออกแบบวงจรให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น ซึ่ง จะทำให้มีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นประมาณ 10% รวมทั้งส่วนของ I/O Controler ที่มีอยู่ บนเมนบอร์ด และพวกพอร์ตต่าง ๆ เช่น Com1, Com2, PS/2, Parallel port, Mouse, มีติดอยู่กับบอร์ดให้เลย
นอกจากนี้ในส่วนของ IR (infrared) Com Port ยังป็นอีกส่วนบนเมนบอร์ดซึ่งจะช่วยในเรื่อง ของการส่งรับข้อมูลโดยผ่านอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบอินฟราเรดอย่างพวกคีย์บอร์ด และ เครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่ ๆ ของ HP ทุกรุ่นจะสนับสนุนการทำงานระบบ อินฟราเรด
USB (Universal Serial Bus)
ช่องต่อ I/O ที่สามารถต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมแบบ Plug & Play ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุด 12 Mbและต่ำสุด 1.5 Mb (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม)
เมนบอร์ดที่พร้อมด้วยเทคโนโลยี USB (Universal Serial Bus ) ซึ่ง USB ที่ว่านี้เป็น I/O ที่เพิ่มเติมเข้ามาบนเมนบอร์ด สำหรับต่ออุปกรณ์ Plug and Play โดยในส่วนของ USB นี้ จะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานเมนบอร์ดเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถต่อ เชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับพีซีได้อย่างง่ายดาย เช่น การเชื่อมต่อจอภาพ, เครื่องพิมพ์, โมเด็ม, สแกนเนอร์, กล้องดิจิตอล,จอยสติกซ์, ลำโพงดิจิตอล ฯลฯ USB มีความเร็ว (data rate) สูงสุด 12 Mbps และต่ำสุด 1.5 Mbps (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม) นับว่า USB ที่พัฒนาออกมานี้เป็น การประชันกับการ์ด SCSI ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงจะเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และอาจจะเป็น อีกออปชันหนึ่งที่ถูกพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดในอนาคต
Pipelined Burst Cache
เมนบอร์ดนับว่าเป็นหัวใจหลักเลยทีเดียวในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะเป็นแผง วงจรที่รวบรวมหน้าที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานไว้อย่างครบถ้วน ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรพิจารณาด้วยก็คือส่วนที่เรียกว่า Pipelined Burst Cache ซึ่งในส่วนนี้ เพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นใช้บนเมนบอร์ดเพนเทียมเป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ ในระยะแรก ๆ นั้นจะเป็นเพียงโมดุลที่แยกย่อยให้ติดตั้งเพิ่ม แต่ในปัจจุบันได้มีการ built-in ลงบนเมนบอร์ดเลย
Pipelined Burst Cache นี้เป็นแคชที่เร็วกว่าแคชธรรมดา และมีหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ใน การรับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ RAM ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
I/O chips
สิ่งสุดท้ายที่จะกล่าวถึงความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อเมนบอร์ดก็คือ I/O chips อาทิเช่น ชิพ UART16550 ซึ่งเป็นชิพที่ช่วยในการควบคุมการ Input และ Output ของ อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิว เตอร์ที่เป็น Com Ports โมเด็มความเร็วสูงในปัจจุบัน จะต้องการส่วนนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วบนเมนบอร์ดปัจจุบันทุกรุ่น นอกเหนือจากสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นที่เป็นปัจจัยต่อการพิจารณาเลือกซื้ อเมนบอร์ดแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรจะพิจารณา เพิ่มเติมร่วมด้วยนั่นก็คือการปรับ Voltage ซึ่งบนเมนบอร์ดจะมีตัว Regulator สำหรับแปลง ไฟโดยสามารถเซตได้ที่จัมเปอร์



http://support.mof.go.th/mainboard.htm

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที ข่าวสารหรือข้อมูลที่จะเก็บไว้ในส่วนความจำนั้นเป็นรหัสแทนเลขฐานสอง (binary) คือ ๐ กับ ๑ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นกลุ่ม ๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด
1.ฟลอปปีดิสก์ (floppy disks) นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสก์เกตต์ เป็นอุึปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก แผ่นดิสก์รุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีความจุ 1.44 MBแต่เดิมฟลอปปีดิสก์จะเรียกว่า ฟลอปปี (ploppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่นแต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิมจึงเรียกว่าฟลอปปี้เช่นเดิม
2. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่น 3-11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ (Platter) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน ฮาร์ดดิสก์จึงสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ความจุของแต่ละรุ่น เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 MB,20 GB, 40 GB เป็นต้น แต่ปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์ มีความจุถึง 80 GB นอกจากนี้ยังมีความรวดเร็วต่อการเรียกใช้งานสูง โดยปกติจะกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์เป็นไดร์ฟ C:ข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ คือ เคลื่อนย้ายไปเครื่องอื่นลำบาก ชำรุดง่ายหากโดนกระทบกระเทือน และมีราคาแพง




3. คอมแพคดิสก์ (compact disk หรือ CD) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันลักษณะหนึ่งที่สำคัญของ CD คือจะถูกอ่านด้วยเครื่องอ่าน CD (CD - Rom drive) ที่มีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป ความเร็วในการอ่านซีดี จะเขียนอยู่ในรูปของตัวคูณ (x) เช่น เครื่องอ่านซีดี ขนาด 24x ,32x, 52x เป็นต้น ปัจจุบันซีดีแต่ละแผ่นสามารถจุข้อมูลได้ประมาณ 700 MB ซีดี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ - CD - Rom (compact disk read - only memory) มีลักษณะคล้ายกับซีดีเพลง หรือ ซีดีที่ขายกันอยู่ทั่วไปคำว่า read - onlyหมายถึง อ่านได้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขหรือลบข้อมูลในแผ่นซีดีได้ - CD - R (compact disk recorable ) เป็น ซีดีที่สามารถเขียน บันทึก หรือ write ข้อมูลได้ครั้งเดียว และสามารถอ่านข้อมูลได้หลายครั้งแต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่อยู่ใน CD - R ได้ - CD - RW (compact disk rewriteable หรือ erasable optical disk) ซีดีประเภทนี้คล้ายกับ CD - R ต่างกันที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง


ที่มา http://www.bmaschool.net/watweluwanaram/com02.htm

ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์

ขนาดของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.Microcomputer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งทำงานโดยระบบผู้ใช้คนเดียว ( Single-user System ) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Personal Computers (PCs) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะกับงานประเภท Word Processing และ Spreadsheets 2. Workstations ( สถานีงาน ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง นิยมนำไปใช้ในงาน
ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2. Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุต่ำกว่าระบบเมนเฟรมมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user System) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี หรืออาจนำไปใช้ร่วมกับระบบเมนเฟรมก็ได้
3. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำรองจาก Supercomputer มีความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร, สายการบิน, บริษัทประกันภัย, มหาวิทยาลัย เป็นต้น
4. Supercomputer
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบบนเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้าแพงมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้แพร่หลายนัก
และ ถ้าแบ่งตามขนาดนั้นสามารถแบ่งแยกตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จอภาพใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid crystal Display : LCD) มีน้ำหนักของเครื่อง เบาประมาณ 3-8 กิโลกรัม
โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขาดใหญ่และมีความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5 –3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว และแบบหลายสี โน๊ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer)


ที่มา http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_04.htm

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้วนอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไปโดยส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้นการทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็วเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะหนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้ เป็นต้น



ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page3.html

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยความจำภายใน
- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน



ที่มา http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว รุจี แก้วอุดร

ชื่อเล่น น้องแอน

เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม 2535

บ้านเลขที่ 24 หมู่ 3 ต.พระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120